เพิ่มความปลอดภัยและลดปัญหาต่างๆ ด้วยการยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัยหรือแบบหลายปัจจัย
ในยุคที่ภัยทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างดาษดื่นนี้ การปกป้องพนักงานและระบบของคุณกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าที่ผ่านมา จริงอยู่ว่าการใช้ชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่านสามารถรักษาความปลอดภัยได้ดีพอๆ กับการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่การยืนยันตัวตนสองปัจจัยหรือให้ดีกว่านั้นคือการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยจะช่วยยกระดับความปลอดภัยให้บริษัทของคุณแน่นหนาขึ้นไปอีกขั้น
การยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัยคืออะไร
การยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัยซึ่งมักเรียกสั้นๆ ว่า 2FA (ย่อมาจาก Two-factor authentication) เป็นการเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยนอกเหนือจากการใช้ชื่อผู้ใช้ร่วมกับรหัสผ่านเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง
การใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ไม่เพียงพอ ต่อการรักษาความปลอดภัยอีกต่อไป เพราะมีโอกาสมากมายที่รหัสผ่านจะรั่วไหลออกไปโดยที่ทางบริษัทควบคุมอะไรมากไม่ได้ พนักงานบางคนอาจพิมพ์รหัสผ่านแล้วส่งไปให้คนอื่นผ่านช่องทางที่ไม่ปลอดภัยโดยไม่ทันคิดอะไร หรือตั้งรหัสผ่านที่เดาง่ายกว่าที่กำหนดไว้มาก ซึ่งนอกจากความผิดพลาดของมนุษย์เหล่านี้ยังมีภัยอื่นๆ ที่อาจทำให้รหัสหลุดไปได้อีกด้วย
ในโลกออนไลน์มีทั้งบอท สคริปต์ และเครื่องมือประสิทธิภาพสูงอีกมากมายที่ออกแบบมาเพื่อแกะรหัสผ่านโดยเฉพาะ ไหนจะอีเมลฟิชชิ่งที่หลอกให้กรอกรหัสผ่านลงในหน้าเพจที่แฮคเกอร์เป็นผู้ควบคุม แล้วยังมีการสุ่มรหัสผ่านซ้ำๆ เพื่อเปิดทางเข้าไปยังแพลตฟอร์มที่มีการป้องกันแน่นหนา
2FA ไม่ได้มีใช้แค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันก็คือการถอนเงินจากตู้ ATM แม้ว่าตอนนี้จะมีแอพที่ทำให้ขั้นตอนการถอนเงินเปลี่ยนไปแล้ว แต่หลายต่อหลายปีที่ผ่านมาการจะถอนเงินต้องมีทั้งบัตร ATM และรหัส PIN คู่กันเท่านั้น หากมีแค่อย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถถอนเงินได้
กฎลักษณะเดียวกันนี้ก็ถูกนำมาใช้ใน Apple Pay ซึ่งไม่มีการจำกัดยอดเงินเหมือนกับบริการจ่ายเงินแบบไม่ต้องสัมผัสรายอื่นๆ แต่ผู้ใช้จะต้องมีรายละเอียดบัตรธนาคารพร้อมทั้งใช้ Face ID หรือ Touch ID ที่อุปกรณ์เพื่อยืนยันตัวตนด้วยจึงจะใช้งานได้
การใช้งานออนไลน์ก็มีหลักและกระบวนการแบบเดียวกัน เช่น รหัสผ่านมักถูกใช้เป็นหนึ่งในสองปัจจัยสำหรับยืนยันตัวตน แต่ใช้แค่รหัสผ่านไม่ได้ ผู้ใช้จะได้รับรหัสผ่านเฉพาะตัวที่ใช้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดผ่านทาง SMS หรือแอพโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ยืนยันตัวตนด้วย
Google, Microsoft และ LastPass เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของแบรนด์ขนาดใหญ่ที่ให้บริการแอพยืนยันตัวตน 2FA พร้อมเปิดให้บุคคลที่สามนำเทคโนโลยีไปดัดแปลงใช้ตามข้อกำหนดของตนได้
การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยคืออะไร
ในขณะที่ 2FA เพิ่มปัจจัยการยืนยันตัวตนเข้าไปอีกหนึ่งชั้น การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยมักเพิ่มปัจจัยขึ้นอีกหลายชั้นตามชื่อ ทั้งนี้ 2FA ก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย และการยืนยันตัวตนใดๆ ที่มีปัจจัยมากกว่าหนึ่งก็ถือเป็นการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ธุรกิจของคุณอาจต้องปิดตัวลงอย่างถาวรถ้าถูกเจาะระบบรักษาความปลอดภัยสำเร็จ เพราะ 60% ของธุรกิจขนาดย่อมจะปิดกิจการภายในหกเดือนหลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ การเพิ่มขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบและข้อมูลที่สำคัญให้มากขึ้นอีกหลายขั้นตอนก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล
ปัจจัยต่างๆ ที่ต้องใช้ยืนยันตัวตนมักเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ทราบกับข้อมูลที่ใช้ได้ภายในระยะเวลาจำกัด เช่น การเข้าใช้ระบบจะต้องยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน, PIN และรหัสแบบใช้ได้ครั้งเดียวที่จะหมดอายุในเวลาไม่กี่นาที
ปัจจัยที่จะใช้ในการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยนั้นสามารถใช้ได้แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรู้จำเสียงพูด การสแกนม่านตา และการตรวจสอบลายนิ้วมือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ยังช่วยให้การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่น ในยุคนี้พนักงานมีสมาร์ทโฟนใช้กันทุกคน ถ้าเป็นสมาร์ทโฟนที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือจัดหาให้ ฝ่าย IT และฝ่ายบริหารก็มีสิทธิ์ที่จะใช้งานข้อมูลตำแหน่งของสมาร์ทโฟนได้ ทั้งนี้ก็ควรแจ้งให้พนักงานทราบก่อนว่าจะมีการเก็บข้อมูลดังกล่าว
เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อว่า Adaptive Authentication ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวตนจากเวลา สถานที่ และกิจกรรมที่ทำได้ ระบบไม่เพียงแค่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของผู้ใช้ได้เท่านั้น แต่ยังตรวจสอบตัวอุปกรณ์และลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ด้วย เช่น เชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะหรือเครือข่ายส่วนตัว
ข้อแตกต่างระหว่างการยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัยกับแบบหลายปัจจัย
ความแตกต่างของขั้นตอนการยืนยันตัวตนทั้งสองแบบก็เหมือนกับชื่อ นั่นคือ 2FA จะใช้ปัจจัยหรือข้อมูลลับสองอย่างในการยืนยันตัวตน เช่น รหัสผ่านกับแอพยืนยันตัวตนหรือบัตร ATM กับรหัส PIN ส่วนการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยจะใช้ปัจจัยในการยืนยันตัวตนจำนวนหลายปัจจัยโดยไม่ต่ำกว่าสองปัจจัย
วิกฤติโรคระบาดยังไม่จบ แล้วการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยจะช่วยให้พนักงานของคุณที่ทำงานจากทางไกลปลอดภัยได้หรือไม่
ในปัจจุบันพนักงานของคุณอาจไม่ผ่านการยืนยันตัวตนที่ใช้ในออฟฟิศ ซึ่งส่วนมากมักไม่ทันคิดว่าเป็นปัจจัยการยืนยันตัวตนขั้นตอนหนึ่ง เช่น พนักงานต้องใส่รหัสผ่านหรือใช้คีย์การ์ดเพื่อเปิดประตูออฟฟิศ ซึ่งถือเป็นปัจจัยขั้นแรกในการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้ระบบภายในของบริษัท
เช่นเดียวกันกับไฟร์วอลภายในซึ่งจะป้องกันได้เต็มที่เมื่อพนักงานเข้าใช้ระบบเครือข่ายผ่านสายแลนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบโดยตรง
การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยสามารถช่วยอุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นนี้ได้ คุณจะมั่นใจได้ว่าไม่ว่าพนักงานของคุณจะเข้าใช้ทรัพยากรของบริษัทจากที่ไหน ทั้งพนักงานและคุณก็จะได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอ การใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียวถือเป็นเรื่องหละหลวมไปเสียแล้ว เพราะ 63% ของการถูกเจาะข้อมูลเกิดจากการใช้รหัสผ่านที่ไม่รัดกุมหรือใช้รหัสผ่านซ้ำกันหลายที่
บริษัทบางแห่งเลือกที่จะออกแบบและสร้างแอพยืนยันตัวตนของตัวเองขึ้น ในขณะที่บางบริษัทใช้ระบบ VPN สำหรับองค์กรเพื่อให้พนักงานใช้เชื่อมต่อในช่องทางเฉพาะไม่ให้ใครมาดักข้อมูลไปได้
ภัยอื่นๆ ที่อาชญากรใช้ขโมยรหัสผ่าน เช่น การฟิชชิ่งและการหลอกลวงทางวิศวกรรมสังคม (Social engineering) ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป แต่การยืนยันตัวตนด้วยอุปกรณ์เช่นโทรศัพท์มือถือ จะช่วยให้บริษัทมั่นใจได้ว่าต่อให้อาชญากรได้รหัสผ่านไปก็ไม่สามารถใช้รหัสเพื่อเข้ามาในระบบตรงๆ ได้
ปกป้องธุรกิจของคุณด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
เรามีบริการด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากมายหลายด้านสำหรับธุรกิจทุกขนาด ในยุคที่ภัยต่างๆ ร้ายแรงขึ้นและวิถีการทำงานเปลี่ยนไป เราสามารถช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าเครือข่ายของคุณได้จะได้รับการวิเคราะห์และป้องกัน พร้อมทั้งให้คำแนะนำขั้นตอนที่ธุรกิจของคุณควรทำเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยวิธีที่พบบ่อย ปรึกษาเราวันนี้ !
การตรวจสอบดูแลนี้ยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าระบบของคุณจะเป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ ตรงตามกฎหมายปัจจุบันและได้มาตรฐานทางเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด นอกจากนี้เรายังพร้อมเข้าให้การปกป้องโดยตรงในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิคอีกด้วย