Monitoring Labs
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
  • บริการ
    • บริการไอทีที่ปรับได้ตามความต้องการ
      • การตรวจสอบและจัดการระบบควบคุมระยะไกล
      • การจัดการป้องกันไวรัส
      • การจัดการซ่อมแซมหรือปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น
      • การจัดการความเสี่ยงและระบบความปลอดภัย
      • การสำรองและการกู้คืนข้อมูล
      • การป้องกันอีเมล
      • การกรองเว็บไซต์
      • การจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่
    • บริการเชิงรุก
    • บริการจัดการเต็มรูปแบบ
  • บทความ
  • ติดต่อ
  • เข้าร่วมกับเรา
  • ขอใบเสนอราคา
  • Menu Menu

ข้อมูลระดับ Big Data ต้องรักษาความปลอดภัยให้ “บิ๊ก”ตามด้วย: อย่าปล่อยให้ IoT กลายเป็นภัยทางอินเตอร์เน็ต

IoT หรือ “Internet of Things” หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั่วทุกมุมโลก ในปี 2020 มีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากถึง 8.74 พันล้านเครื่อง และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีกสามเท่าในปี 2030

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเหล่านี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของเราไปมากมาย โดยมากมักถูกในไปใช้ทางการตลาด แต่บางทีก็ถูกนำไปใช้ในเรื่องไม่ดีอีกด้วย เพราะเมื่ออาชญากรเข้าถึงอุปกรณ์ของคุณได้เมื่อไรก็จะขโมยตัวตน เงิน และสิ่งสำคัญอื่นๆ ของคุณไปได้ด้วย

แล้วคุณจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร คำตอบก็คือคุณต้องลงทุนกับการรักษาความปลอดภัยให้ทัดเทียมกับที่ลงทุนไปกับเพื่อใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เนื้อหาต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้

“Big Data” คืออะไร”

Internet of Thing Everywhere

คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “Big Data” ในโลกออนไลน์หรือในการประชุมธุรกิจมาบ้าง และอาจมีคำถามว่า “Big Data” คืออะไรและทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Big Data หมายถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกเก็บรวบรวมจากบุคคลจำนวนมากอยู่ทุกวัน เกือบทุกสิ่งบนโลกออนไลน์สามารถติดตามดูข้อมูลความเคลื่อนไหวได้ และธุรกิจหลายแห่งก็ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการยิงโฆษณาแบบเล็งกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า และเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

ด้วยปริมาณของข้อมูลที่มากมายมหาศาลจึงทำให้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากกองข้อมูลเหล่านี้ได้ยากมาก แต่ก็มีโซลูชั่นซอฟต์แวร์มากมายที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ หาข้อมูลที่ต้องการได้พบ

โชคไม่ดีที่อาชญากรก็เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จาก Big Data ด้วยเช่นกัน ด้วยการที่คนส่วนใหญ่ไม่ปกป้องข้อมูลออนไลน์ของตนและใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอย่างไร้การป้องกัน ข้อมูลของคนเหล่านั้นก็อาจตกไปอยู่ในมือของอาชญากรได้

Internet of Things (IoT) คืออะไร

IoT หมายถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้มีมากมายหลายอย่างจนแทบไล่ตามดูไม่ไหว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงไว้ก็คือระบบเหล่านี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณไว้ และข้อมูลทั้งหมดอาจตกไปอยู่ในมืออาชญากรได้

นี่คือตัวอย่างบางส่วนของ IoT:

  •  สมาร์ทโฟน
  •  เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
  •  ระบบรักษาความปลอดภัยแบบสมาร์ทโฮม
  •  เครื่องวัดค่าทางสุขภาพแบบสวมใส่
  •  อุปกรณ์สมาร์ทโฮม เช่น Amazon Echo หรือ Google Home
  •  ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบสมาร์ทที่สามารถปรับค่าจากสมาร์ทโฟนได้
  •  ระบบที่จอดรถแบบสมาร์ทที่ใช้กันในเมืองใหญ่
  •  แอพพลิเคชั่นสำหรับดำเนินธุรกิจที่ใช้ติดตามจำนวนสินค้าคงคลังตามเวลาจริง

คุณคงเห็นภาพแล้วว่าแทบทุกคนมีการใช้งาน IoT อยู่ทุกวัน ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันข้อมูลของคุณและป้องกันตัวคุณจากแฮคเกอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

ทำไมคุณจึงเสี่ยงต่อการถูกโจมตี

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลและถูกแฮคเกอร์โจมตี มาจากการที่พวกเขาไม่ทราบว่า Big Data และ IoT ทำงานอย่างไร ผู้คนพากันใช้เทคโนโลยีอย่างมีความสุขโดยไม่รู้เลยว่าข้อมูลของตนถูกเก็บรวบรวมและนำไปขายมากมายขนาดไหน

ในยุคนี้คุณคือผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันนี้การนำข้อมูลไปใช้เพื่อยิงโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตมาก ผู้ขายข้อมูลที่มีจริยธรรมมักนำข้อมูลของคุณไปจับกลุ่มกับคนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเป็นกลุ่มใหญ่โดยไม่มีการระบุตัวตน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะไม่สามารถสืบย้อนจนระบุตัวเจ้าของข้อมูลได้

แต่ทว่าเหล่าแฮคเกอร์สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ของคุณเพื่อตรวจดูว่าคุณทำอะไรอย่างไรบ้างได้อย่างชัดเจน ข้อมูลเหล่านี้มีค่าสูงกว่าข้อมูลผู้ใช้กลุ่มใหญ่ที่ไม่ระบุตัวตนมาก ข้อมูลจำเพาะบุคคลอย่างละเอียดสามารถขายได้ในราคาสูงจึงเป็นที่ล่อตาล่อใจของบรรดาแฮคเกอร์อย่างยิ่ง

ธุรกิจการขโมยตัวตน

ในสมัยก่อนการปลอมตัวเป็นใครสักคนนั้นทำได้ยากมาก เพราะคุณต้องทำหน้าตาท่าทางให้เหมือนตัวจริงให้ได้ แต่ในยุคนี้เพียงแค่มีข้อมูลส่วนบุคคลของใครสักคนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถหลอกลวงธุรกิจทั่วทั้งอินเตอร์เน็ตได้แล้วว่าคุณเป็นคนอื่น

แฮคเกอร์บางคนอาจขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณไปเพื่อใช้ประโยชน์เอง แต่ส่วนมากมักนำไปขายต่อให้กับขโมยรายอื่น อาชญากรเหล่านี้จะเปิดบัญชีธนาคารในชื่อของคุณ เปิดบัตรเครดิตด้วยประวัติทางการเงินของคุณ ไปจนถึงซื้อของราคาแพงด้วยบัญชีธนาคารของคุณ

พอรู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น คุณก็ต้องติดต่อกับสารพัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์ว่าคุณถูกขโมยข้อมูลและต้องตามเคลียร์สารพัดเรื่องที่พวกโจรก่อไว้ แถมตำรวจก็แทบไม่เคยตามจับอาชญากรเหล่านี้มาลงโทษได้เลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ขอแค่เจาะเข้าอุปกรณ์ได้เครื่องเดียวก็รุกเข้าอุปกรณ์อื่นๆ ต่อได้สบาย

เมื่อแฮคเกอร์เจาะเข้าอุปกรณ์ของคุณได้หนึ่งเครื่อง ก็จะได้ข้อมูลสำหรับใช้เจาะอุปกรณ์ IoT ชิ้นอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันไปด้วย ทำให้อาชญากรกลับมาโจมตีซ้ำเพื่อทำเงินจากคุณได้มากขึ้น และอาจเป็นช่องทางให้แฮคเกอร์เจาะเข้าทุกส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายของคุณได้ทั้งหมด

ยกตัวอย่าง เช่น แฮคเกอร์อาจไม่สามารถทำเงินจากการเจาะเข้าระบบควบคุมรายการสินค้าคงคลังแบบสมาร์ทที่ใช้ในการทำธุรกิจของคุณได้ แต่นั่นก็เป็นการเปิดช่องให้แฮคเกอร์เข้าไปในระบบเน็ตเวิร์คที่บริษัทของคุณใช้ในการสื่อสารอยู่ทุกวันได้จนทั่ว ซึ่งเน็ตเวิร์คนี้สามารถใช้ทำเงินได้มากจึงทำให้การเจาะระบบที่ไม่สำคัญในขั้นแรกกลายเป็นเรื่องคุ้มค่าสำหรับอาชญากร

ระบบเน็ตเวิร์คในบ้านก็เช่นเดียวกัน ถ้าระบบรักษาความปลอดภัยแบบสมาร์ทโฮมของคุณเชื่อมต่อเข้ากับของเพื่อนบ้าน แค่เจาะเข้าอุปกรณ์ของคุณได้เครื่องเดียวก็เท่ากับเจาะเข้าบ้านทุกหลังที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้ได้ทั้งหมด

คุณป้องกันตัวดีแล้วหรือยัง

คุณใส่ใจกับการรักษาความปลอดภัยให้อุปกรณ์ของคุณอย่างสมน้ำสมเนื้อกับการใช้งานแล้วหรือยัง หากคำตอบคือไม่ ก็หมายความว่าคุณเสี่ยงต่อการถูกโจมตี และการที่คุณไม่รักษาความปลอดภัยให้ดีอาจทำให้คนอื่นเสี่ยงอันตรายไปด้วย

ในยุคของ Big Data และ IoT นี้ คุณจำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเน็ตเวิร์คที่แน่นหนาเพียงพอ ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าระบบรักษาความปลอดภัยของคุณดีพอหรือยัง เราสามารถช่วยคุณได้ เรามีโซลูชั่นต่างๆ มากมายที่จะช่วยปกป้องบ้านและธุรกิจของคุณจากเหล่าแฮคเกอร์ได้

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากเราได้ในวันนี้! หรือติดเราเพื่อรับคำปรึกษาด้านความปลอดภัยของข้อมูล และระบบของคุณ

ส่งต่อบทความ
  • Share on Facebook
  • Share on Twitter
  • Share on WhatsApp
  • Share on Pinterest
  • Share on LinkedIn
  • Share on Tumblr
  • Share on Vk
  • Share on Reddit
  • Share by Mail
  • Visit us on Yelp

Categories

  • Business Continuity
  • Covid-19 Solutions
  • Modern Workplace
  • Risk
  • Security
  • การโจมตีทางไซเบอร์
  • ความปลอดภ้ยของข้อมูลทางธุรกิจ
  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์

Archives

  • มกราคม 2022
  • ธันวาคม 2021
  • พฤศจิกายน 2021
  • ตุลาคม 2021
  • กันยายน 2021
  • สิงหาคม 2021
  • กรกฎาคม 2021
  • มิถุนายน 2021
  • พฤษภาคม 2021
  • เมษายน 2021
  • มีนาคม 2021

© Monitoring Labs

By Wicked Networks

บริการเชิงรุก

บริการจัดการเต็มรูปแบบ

บริการไอทีที่ปรับได้ตามความต้องการ

ติดต่อ

นโยบายความเป็นส่วนตัว

เข้าร่วมกับเรา

13 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความ... cyber risk aware culture at workforce วิธีสร้างวัฒนธรรมการตระหน...
Scroll to top